การปรับเปลี่ยนองค์กรให้สอคคล้องกับโลกการทำงานที่เปลี่ยนไป
การเปลี่ยนแปลงที่เราไม่ได้คาดคิดมาก่อน ก็นำมาซึ่งโอกาสใหม่ๆ ที่เราอาจจะไม่ได้คาดคิดเช่นกัน แต่การที่องค์กรจะเปลี่ยนแปลงไปสู่แนวทางที่ดีได้นั้น ก็ขึ้นอยู่กับความสำเร็จในการปฏิรูปองค์กรด้วย ว่ามีความสามารถในการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัลได้สมบูรณ์แบบมากเท่าใด โดยเฉพาะการดำเนินธุรกิจในภูมิภาคเอเชียนี้
เมื่อโลกเปลี่ยนไปจากเดิม หลายๆ องค์กรต่างต้องเผชิญปัญหาในการปรับตัวที่ทำได้ไม่เร็วมากนัก และข้อจำกัดของระบบไอทีที่ใช้มาแต่เดิมก็อาจก่อปัญหากวนใจ ในหลายๆด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นงาน finance, งาน operations, customer experience, employee engagement, ไปจนถึงการสื่อสารการตลาดและ ที่ชัดเจนที่สุดก็คือการบริหารจัดการซัพพลายเชน (supply chain management)
สิ่งที่องค์กรต่างๆ ทั่วโลกได้เรียนรู้จากสถาณการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้นนี้ ก็คือการสร้างความยืดหยุ่นให้กับองค์กรเพื่อให้ดำเนินการต่อไปได้ แม้อาจจะต้องประสบ พบเจอกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน และการเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ นา ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจสำเร็จได้ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงใดเกิดขึ้นก็ตาม
ระบบคลาวด์คือระบบที่มีความสามารถในการปรับขยายขนาด(scalability) และความปลอดภัย (security) สำหรับองค์กร และผู้ใช้งาน แต่เราก็ได้เห็นแล้วว่า ความสามารถในการขยับโยกย้ายอย่างรวดเร็วและสามารถปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องต่างหากที่ทำให้บริษัทที่ให้ความสำคัญกับระบบคลาวด์เป็นอันดับแรกๆ หลายแห่งสามารถก้าวนำหน้าคู่แข่งไปหลายช่วงตัว
ส่วนหนึ่งของปัญหาที่หลายๆ ธุรกิจต้องประสบก็คือระบบไอทีแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับซอฟต์แวร์ ERP (Enterprise Resource Planning) แบบ on-premise รุ่นเก่านั่นเอง ในหลายๆ กรณีเราพบว่าระบบรุ่นเก่านั้นเก็บข้อมูลการทำงาน และข้อมูลการเงินไว้แยกกัน หรือที่เรียกว่าเป็นระบบแบบ Silos ซึ่งระบบ Silos นี้ทำให้ผู้บริหารงานที่อยู่ในระดับต่างๆ ขององค์กรมองไม่เห็นภาพรวมแบบหนึ่งเดียว อีกทั้งการนำข้อมูลจากหลายๆแหล่งมารวมกันนั้น ต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ อธิเช่นการนำเอาข้อมูลการตลาดมาวางเทียบกับการวิเคราะห์ยอดขาย พร้อมกับตารางซัพพลายเชนแบบเรียลไทม์ ยิ่งในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในยุคนี้ ก็ยิ่งต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจ เพราะ data มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งก็มีแนวโน้มที่จะได้ข้อมูลที่ไม่มีความอัพเดท หรือเป็นข้อมูลย้อนหลังหากนับตั้งแต่วันที่มีการดึงข้อมูลนั้นๆ มา ในขณะที่กุญแจสำคัญหลักที่จะนำพาธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ คือข้อมูลแบบเรียลไทม์ (หรือเกือบเรียลไทม์)
การที่บริษัทจะปฏิรูปไปสู่ระบบดิจิทัลได้สำเร็จได้หรือไม่นั้น จำเป็นจะต้องมีโซลูชันการบริหารจัดการองค์กรยุคใหม่เพื่อช่วยปิดช่องว่างในการเร่งดำเนินงาน ช่องว่างที่ว่านั้นก็คือความแตกต่างระหว่างความรวดเร็วในการเปลี่ยนแปลงและความสามารถในการก้าวตามให้ทัน ไม่ใช่เพียงแค่การย้ายซอฟต์แวร์ ERP ที่ล้าสมัยไปไว้บนคลาวด์ แต่ยังต้องมีโซลูชันที่สร้างมา เพื่อทำงานบนคลาวด์โดยเฉพาะที่ทำงาน “ร่วมกับ” ธุรกิจ ไม่ใช่แค่เพียงทำงาน “ให้กับ” ธุรกิจเท่านั้น
แพลตฟอร์มการบริหารจัดการองค์กรในทุกวันนี้ได้นำเสนอข้อดีมากมายของโซลูชันบนคลาวด์ ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการขยายคลอบคลุม (extensibility) แกนหลักข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียวกัน (a unified data core) ข้อมูลที่เร็วถึงระดับมิลลิวินาที (up-to-the-millisecond information) และฟังก์ชั่นการทำงานด้วยระบบดิจิทัลที่ทรงพลังอีกสารพัด ซึ่งสามารถปรับแต่งได้อย่างละเอียดเพื่อให้ตรงกับข้อกำหนดและความต้องการที่มีความเฉพาะเจาะจงของธุรกิจนั้นๆ โครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ที่คล่องตัว จะช่วยให้องค์กรสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพการทำงานได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงความท้าทายต่างๆ ที่มีความเฉพาะเจาะจงในแต่ละอุตสาหกรรม อย่างเช่น การรวมตัวในภาคธุรกิจของคู่แข่งหน้าใหม่ในตลาด ที่มีความแข็งแรงและยากต่อการแข่งขัน เป็นต้น
ด้วย architecture พื้นฐานที่ออกแบบมาให้รองรับการพัฒนาเพื่ออนาคตของ Workday ทำให้องค์กรสามารถปฏิรูปหลักการการดำเนินธุรกิจของตนได้ในราคาประหยัด(cost-effective) และเป็นการสร้างความพร้อม เพื่อรับกับความท้าทายต่างๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เมื่อ people, finances และ operational information ถูกนำมาผูกรวมไว้ด้วยกันในแพลตฟอร์มของ Workday ก็จะทำให้วงจรการทำธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่นและต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการวางแผน-ดำเนินงาน-การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ดำเนินธุรกิจในการตัดสินใจที่ฉับไว – agile decision-making / ตารางดำเนินการผลิตที่รวดเร็วขึ้น – faster to-production timetables / การดำเนินงานที่ไร้รอยต่อแบบเรียลไทม์ – real-time seamless operations / ช่วยปิดช่องว่างจากการเร่งปฏิรูปสู่ระบบดิจิทัล (closing of the digital acceleration gap)
การปฏิบัติงานในแต่ละวันขององค์กรเองก็สามารถนำเทคโนโลยีที่เรียกว่า “Machine Learning”มาใช้งานได้ ซึ่งเจ้าตัว Machine Learning นี้ถูกใช้ใน academic research institutions เป็นส่วนใหญ่เมื่อสองถึงสามปีที่แล้ว แต่ทุกวันนี้ machine learning algorithms ถูกนำมาใช้ในระบบ cloud computing ช่วยทำให้ Business Process ต่างๆ เป็นไปอย่างอัตโนมัติได้ และเป็นการทำงานควบคู่ไปกับข้อมูลจาก Software ขององค์กรเองที่ถูกเชื่อมต่อไว้กับระบบคลาวด์ ทั้งนี้การเรียนรู้ของระบบนั้นนับเป็นหลักการสำคัญของระบบการทำงานอัตโนมัติและเป็นรากฐานสำหรับการคาดการณ์อัจฉริยะที่อาศัยการวิเคราะห์และการสร้างโมเดล อีกทั้งข้อมูลเชิงลึกที่ได้มา สามารถนำไปใช้เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานด้าน Finance, Talent Management และ operations ด้วยเช่นกัน สำหรับตัว smart algorithms นี้จะช่วยให้องค์กรสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็น live data ทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึงและเข้าใจได้ง่าย (easy-to-understand formats or “stories) ซึ่งก็หมายความว่าองค์กรได้ลงทุนในระบบไอทีด้านต่างๆ ไปแล้วในตัว
Workday’s single system หรือระบบแบบหนึ่งเดียวของ Workday คือตัวอย่างที่ดีในการช่วยให้องค์กรสามารถปรับเทียบมาตรฐานได้ต่อเนื่อง พร้อมผสานแนวทางที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ากับกระบวนการธุรกิจ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ เมื่อตลาดเปลี่ยนไป แนวทางและการดำเนินงานขององค์กรก็จะต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับตลาดด้วยเช่นกัน
Workday ตระหนักดีว่าแอปพลิเคชันนั้นต้องสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความต้องการของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงได้ เราจึงสร้างแพลตฟอร์มระดับองค์กร เพื่อสนับสนุนให้องค์กรนั้นๆ สามารถวางพื้นฐานการทำธุรกิจเพื่อปัจจุบันและอนาคตและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามยุคและสมัย นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับระบบบริหารจัดการองค์กรรูปแบบใหม่ที่พร้อมมอบความยืดหยุ่นให้กับองค์กรและผู้ใช้งานอย่างแท้จริง เป็นการรองรับความก้าวหน้าของธุรกิจ และช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโต และก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ นาๆ ได้แบบไม่มีขีดจำกัด – ช่วยให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจทางธุรกิจ สามารถคิดคำนวณได้เร็วขึ้น ซึ่งก็นำไปสู่การตัดสินใจที่เร็วและสร้างผลบวกให้กับธุรกิจมากขึ้น โดยอาศัยข้อมูลแบบ real-world ผ่านแพลตฟอร์มที่มีความยืดหยุ่นและมีความปลอดภัยสูง ทั้งยังสร้างมาเพื่อระบบคลาวด์โดยเฉพาะอีกด้วย ไม่ว่าบริษัทจะต้องการเน้นย้ำการมีส่วนร่วมของพนักงาน (Employee Engagement) หรือเปิดตัวประสบการณ์ลูกค้าในรูปแบบใหม่สู่ตลาดก็สามารถทำได้เช่นกัน
ติดต่อทีมงาน Workday สำหรับประเทศไทยเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้แล้ววันนี้
READ MORE
- 3 Steps to Successfully Automate Copilot for Microsoft 365 Implementation
- Trustworthy AI – the Promise of Enterprise-Friendly Generative Machine Learning with Dell and NVIDIA
- Strategies for Democratizing GenAI
- The criticality of endpoint management in cybersecurity and operations
- Ethical AI: The renewed importance of safeguarding data and customer privacy in Generative AI applications